กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นอีกหนึ่งอาการที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือผู้ที่จ้องโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงในผู้ที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
พันธุกรรม
ถึงแม้ว่าโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะไม่ได้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่การมีพันธุกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะนี้ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน โดยจะเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ลืมตา ทำให้มองเห็นได้น้อยลงเรียกว่าโรค กล้ามเนื้อตาอ่อนเเรงตั้งเเต่กำเนิดนั่นเอง
อายุที่มากขึ้น
เป็นธรรมดาที่เมื่ออายุมากขึ้น ปัญหานี้ก็จะเริ่มค่อยๆ คืบคลานเข้ามา โดยเมื่อเรามีอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาของเราจะยืด ทำให้เปลือกตาหย่อนลง ปัจจัยสำคัญของการเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเมื่ออายุมากขึ้นก็คือการที่ชอบขยี้ตาบ่อยๆ รวมถึงการใส่บิ๊กอายหรือคอนแทคเลนส์นานๆ ก็ทำให้เกิดปัญหานี้เช่นกัน
การผ่าตัดที่ผิดพลาด หรืออุบัติเหตุต่างๆ
บ่อยครั้งที่การผ่าตัดทำตาสองชั้นจากแพทย์ที่ไม่ชำนาญ หรือทำชั้นตาหนามากเกินไป มักจะก่อให้เกิดปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตามมา นอกจากนั้นอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบบริเวณเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา หรือกระทบกระเทือนบริเวณเปลือกตาก็ทำให้มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน
การหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ หรือโรค MG
โรค Myasthenia Gravis หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า โรค MG เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สามารถเกิดได้กับหลายระบบในร่างกาย ซึ่งหากเกิดกับกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา ก็จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยที่หากเป็นแล้ว ควรปรึกษาจักษุเเพทย์จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากส่งผลต่อการมองเห็นค่อนข้างมาก
อาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีอาการหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น หนังตาตก ตาปรือ ตาง่วง เปิดตาได้ไม่เต็มที่ ตาไม่สดใส มองเห็นภาพไม่เต็มตา ต้องเลิกคิ้วหรือใช้การเเหงนหน้าช่วย ซึ่งหากทำบ่อยๆ อาจติดพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้เสียบุคลิกได้เช่นกัน
ระดับและความอันตรายหากไม่รักษาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ จะไม่ได้มีความอันตรายเท่าไรนัก เเต่จะส่งผลต่อบุคลิกภาพ การมองเห็น เเละความรู้สึกบางส่วน เช่น การที่ต้องเลิกคิ้วนานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ เป็นต้น
ระดับความรุนแรงสามารถแบ่งได้ดังนี้
ระดับเริ่มต้น : ขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำเกินกว่า 2 มิลลิเมตร ทำให้ดูง่วงนอน หน้าตาไม่สดใส
ระดับกลาง : ขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำเกินกว่า 3 มิลลิเมตร ตาปรือ ทำให้ดูง่วงนอนตลอดเวลา
ระดับรุนแรง : ขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำเกินกว่า 4 มิลลิเมตร ส่งผลต่อการมองเห็น ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
การแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด โดยที่ KOA Clinic ให้บริการ 3 เทคนิค เรียงลำดับตามความยาก เทคนิคที่นิยมที่สุดคือเทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านนอก ซึ่งจะสามารถรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ครอบคลุมเกือบทุกชนิด นอกจากนั้นยังมีเทคนิคอื่นๆ ที่สามารถปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อีกครั้งหลังเข้ารับคำปรึกษา
การผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านนอก (External Ptosis Correction) สามารถทำได้ดังนี้
1. เปิดแผลจากด้านนอก ผ่านผิวหนังไปชั้นกล้ามเนื้อตา
2. ปรับการทำงานของกล้ามเนื้อตา เพื่อให้มีแรงเปิดตามากขึ้น
3. เย็บสร้างชั้นตาให้สวยงาม
วิธีนี้เหมาะกับใคร?
– ผู้ที่มีปัญหาตาปรือไม่มาก
– ผู้ที่มีตาสองชั้นอยู่แล้ว หรืออยากให้ชั้นตาเล็กลง
– ผู้ที่ต้องการการพักฟื้นที่รวดเร็ว
ผ่าตัดแบบซ่อนเเผล (Internal Ptosis Correction) สามารถทำได้ดังนี้
1. พลิกเปลือกตาด้านใน
2. เข้าไปหากล้ามเนื้อตาและปรับการทำงานให้แข็งแรงขึ้น
3. เย็บปิดแผลโดยใช้ไหมละลาย
วิธีนี้เหมาะกับใคร?
– ผู้ที่มีปัญหาตาปรือไม่มาก
– ผู้ที่มีตาสองชั้นอยู่แล้ว
– ผู้ที่ต้องการการพักฟื้นที่รวดเร็ว
ผ่าตัดโดยใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง
สำหรับกรณีตาปรือมากๆ หรือเคยผ่าตัดมาหลายครั้ง ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะที่ KOA Clinic เท่านั้น สามารถทำได้ดังนี้
1. เปิดแผลจากด้านนอก ผ่านผิวหนังไปชั้นใต้ผิวหนัง
2. หาเนื้อเยื่อข้างเคียง เช่น เนื้อเยื่อชั้นลึก หรือกล้ามเนื้อหน้าผาก
3. เชื่อมต่อเนื้อเยื่อดังกล่าวกับโครงสร้างของเปลือกตา เพื่อช่วยเปิดตาแทนกล้ามเนื้อตา
วิธีนี้เหมาะกับใคร?
– ผู้ที่มีปัญหาตาปรือมากๆ
– ผู้ที่เคยผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมาแล้วหลายครั้ง
– ผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิดแบบรุนแรง
การเตรียมตัวในการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงความเครียดก่อนวันผ่าตัด
- งดรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่ลดการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการต่อขนตา ใส่คอนแทคเลนส์ และแต่งหน้า
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์มีอาการผิดปกติใดๆ ที่ผิวหนังบริเวณเปลือกตา ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการงดอาหารและน้ำก่อนการผ่าตัด
หลังผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษบ้าง?
- บริหารกล้ามเนื้อตาหลังผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 1 – 2 เดือนแรก โดยแพทย์จะให้คำแนะนำอย่างละเอียดอีกครั้ง
- หลังผ่าตัด อาจมีอาการหลับตาได้ไม่สนิทชั่วคราว ซึ่งจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ ป้องกันภาวะตาแห้ง
- สามารถเริ่มทายาลบรอยเเผลเป็นได้หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ เเต่โดยปกติเปลือกตาจะไม่ค่อยทิ้งรอยเเผลเป็นไว้มากนัก เมื่อเทียบกับการศัลยกรรมส่วนอื่นๆ
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะอยู่ได้นาน จนกว่าจะมีปัจจัยที่ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานแย่ลง เช่น อายุที่มากขึ้น, การเป็นภูมิแพ้เรื้อรัง, โรคบางชนิด เช่น ตากุ้งยิงที่เป็นซ้ำบ่อยๆ, การใส่คอนแทคเลนส์ติดต่อกันนานๆ ซึ่งเเพทย์จะเเนะนำวิธีการดูเเลหลังทำให้อย่างละเอียด เพื่อคงผลลัพธ์ให้ยาวนาน
การแก้ตากล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นเรื่องที่ควรศึกษารายละเอียดก่อนตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด KOA Clinic มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำและพร้อมดูแลคุณตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา ให้คุณมั่นใจได้ ว่าดวงตาจะสดใส เเละมีการมองเห็นที่ดียิ่งขึ้น