ถามหมอได้เลยครับ
icon-phone
  1. หน้าแรก
  2. บทความและข่าวสาร
  3. ขนตาทิ่มตา เสี่ยงกระจกตาอักเสบ เเก้ไขได้อย่างไร?

ขนตาทิ่มตา เสี่ยงกระจกตาอักเสบ เเก้ไขได้อย่างไร?

เขียนเมื่อ: 13/9/2024

ใครที่มีอาการเคืองตา ตาแดง หรือน้ำตาไหลบ่อยๆ แบบไม่ทราบสาเหตุ ใช้น้ำยาล้างตาก็แล้ว หยอดตาก็แล้วแต่ก็ยังไม่หาย คุณอาจจะกำลังเจอปัญหาภาวะ ขนตาทิ่มตา ถึงแม้ว่าจะดูไม่ได้ร้ายแรงอะไร แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษาอย่างถูกวิธีภาวะขนตาทิ่มตา อาจเป็นอันตรายต่อดวงตามากกว่าที่คิด ลองไปดูพร้อมๆ กันว่าภาวะขนตาทิ่มตาคืออะไร อาการเป็นอย่างไร และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ภาวะ “ขนตาทิ่มตา” คืออะไร?

ภาวะขนตาทิ่มตา (Trichiasis) หรือภาวะขนตาขด คือความผิดปกติของขนตา โดยขนตาจะมีลักษณะคดเข้าด้านใน การที่ขอบตาม้วนเข้าด้านในทำให้บริเวณที่เป็นขอบของเปลือกตา หนังตา และขนตาเสียดสีกับลูกตาด้านใน หากเป็นระยะเริ่มต้นจะทำให้รู้สึกระคายเคือง เหมือนมีอะไรติดอยู่ในลูกตา น้ำตาไหล ตาแดง แต่หากปล่อยทิ้งอาการอาจรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้กระจกตาถลอก และเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ ภาวะขนตาทิ่มตาส่วนใหญ่จะพบมากในผู้สูงอายุ แต่บางรายก็อาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดได้เช่นเดียวกัน

ขนตาทิ่มตา

สาเหตุของการเกิดภาวะ ขนตาทิ่มตา

การเกิดภาวะขนตาทิ่มตาเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น

  • ภาวะตาแห้ง

เป็นภาวะที่น้ำตามีปริมาณไม่เพียงพอที่จะให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวตา ซึ่งเกิดได้ทั้งจากการที่ระบบต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ หรือการใช้งานดวงตาหนักเกิดไป เช่น จ้องจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน เมื่อตาแห้งเป็นเวลานานทำให้เปลือกตาดึงรั้งขนตาลงมาทิ่มตาดำ จนเกิดการอักเสบและกลายเป็นภาวะขนตาทิ่มตาในที่สุด

  • เปลือกตาหนามากกว่าปกติ

เป็นภาวะที่ชั้นหนังตามีความหนากว่าปกติ จนดันให้เปลือกตาม้วนเข้าด้านใน ดันให้ขนตาล่างม้วนเข้าไปทิ่มกระจกตา ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กแรกเกิด

  • เปลือกตาหย่อน กล้ามเนื้อเอ็นยึดเปลือกตาหย่อน

เป็นปัญหาที่มักพบในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้เปลือกตาหย่อน กล้ามเนื้อเอ็นยึดเปลือกตาหย่อน กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เวลาที่กะพริบตาหรือหลับตาหนังตาจะม้วนเข้าด้านใน ทำให้ขนตาทิ่มเข้าไปเสียดสีกับกระจกตาได้

  • เปลือกตาอักเสบ

เป็นภาวะที่เปลือกตาเกิดการอักเสบ จากการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณโคนขนตา ทำให้มีอาการระคายเคืองในตา ตาแดง บวม ตาแฉะ น้ำตาไหลอยู่ตลอด ดวงตาไวต่อแสง และส่งผลต่อความผิดปกติของขนตา ทำให้ขนตาขึ้นผิดทิศทาง 

จับตัวเป็นก้อน งอกงอเข้าด้านใน จนกลายเป็นภาวะขนตาทิ่มตา

  • โรคริดสีดวงตา

โรคริดสีดวงตาเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อที่ทราโคมาติส บริเวณเปลือกตาด้านในจะมีตุ่มเล็กๆ สีเหลืองกระจายอยู่ โรคริดสีดวงตาสามารถหาได้เอง แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อบ่อยๆ จะทำให้ดวงตาเกิดการอักเสบเรื้อรัง เกิดเป็นพังผืดรั้งบริเวณขอบเปลือกตา มีแผลเป็นที่เปลือกตา ขนตาม้วนเข้าด้านใน โรคริดสีดวงตาจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขนตาทิ่มตาได้

  • อุบัติเหตุบริเวณรอบดวงตา

อุบัติเหตุบริเวณรอบดวงตาเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขนตาทิ่มตา เช่น อุบัติเหตุจากความร้อน หรือสารเคมีต่างๆ เมื่อแผลแห้งแล้วจะรั้งเปลือกตา ทำให้หนังตาม้วนเข้าด้านใน

ขนตาทิ่มตา ทำให้เกิดอาการอย่างไร?

อาการแรกเริ่มของภาวะขนตาทิ่มตา คือจะรู้สึกระคายเคือง เหมือนมีอะไรติดอยู่ในตาตลอดเวลา แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำการรักษา จนรุนแรงขึ้นจะทำให้มีเกิดอาการเหล่านี้ตามมา

  • ตาแฉะ ขี้ตาเยอะ น้ำตาไหลอยู่ตลอด
  • ปวดตามากๆ ลืมตาไม่ขึ้น
  • ตามัว สูงแสงไม่ได้
  • กระจกตาอักเสบ
  • เกิดแผลที่กระจกตา กระจกตาติดเชื้อ

การรักษาอาการ ขนตาทิ่มตา มีวิธีไหนบ้าง?

การรักษาอาการขนตาทิ่มตา สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของจักษุแพทย์ เช่น

  • รักษาโดยการฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ (โบท็อกซ์)

เป็นการฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าโบท็อกซ์ เพื่อยับยั้งกล้ามเนื้อตาไม่ให้เกิดการหดตัว โดยปกติเวลาที่ระคายเคืองตาคนเรามักจะหยีตาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการหยีตาจะทำให้กล้ามเนื้อตาหดตัวจากการบีบเข้าหากัน จนขนตาเข้าไปเสียดสีในดวงตา การฉีดโบท็อกซ์จะช่วยให้กล้ามเนื้อตาไม่ม้วนเข้าไปข้างใน เป็นการป้องกันปัญหาขนตาทิ่มตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • รักษาโดยการจี้ไฟฟ้า

เป็นการรักษาขนตาทิ่มตา โดยการปล่อยคลื่นไฟฟ้าไปยังรากขนแต่ละเส้น เพื่อกำจัดรากขน ลดการเกิดใหม่ของขนตา ชะลอให้ขนตาใหม่เกิดช้าลง เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาขนตางอกผิดทิศทางหลายเส้น ไม่สามารถแก้ไขโดยการถอนตามปกติได้ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพแต่อาจเกิดแผลเป็นหลังทำได้

  • รักษาโดยการจี้ด้วย Radiofrequency

เป็นการรักษาขนตาทิ่มตา ที่คล้ายกับการจี้ไฟฟ้า แต่จะใช้เทคโนโลยีการปล่อยคลื่นไฟฟ้าอ่อนๆ ในรูปแบบของคลื่นวิทยุ ไปกำจัดรากขน

  • รักษาโดยการผ่าตัดศัลยกรรม

เป็นการรักษาขนตาทิ่มตาที่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาขนตาทิ่มตาจากไขมันสะสมบริเวณเปลือกตามากกว่าปกติ หนังตาตก กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยรักษาอาการขนตาทิ่มตา แล้ว ยังได้ประโยชน์เรื่องความสวยงามเพิ่มมาด้วย

เทคนิคการผ่าตัดศัลยกรรมแก้อาการ ขนตาทิ่มตา

อย่างที่บอกว่าการผ่าตัดศัลยกรรม เป็นวิธีการรักษาอาการขนตาทิ่มตาที่ได้รับความนิยม โดยมีเทคนิคที่หลากหลาย ในการรักษาอาจใช้แค่เทคนิคเดียว หรือหลายเทคนิคร่วมกัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของจักษุแพทย์

1. การทำตาสองชั้น: เป็นเทคนิคที่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาขนตาทิ่มตาจากหลายสาเหตุ

  • กรณีเปลือกตาอูม มีไขมันสะสมบริเวณเปลือกตามาก จะทำตาสองชั้นโดยการเย็บชั้นตาพร้อมกับการกำจัดไขมันส่วนเกินบริเวณเปลือกตาออก เพื่อแก้ปัญหาตาอูมจนขนตาทิ่มตา
  • กรณีหนังตาตกทับขนตา จะทำตาสองชั้นพร้อมตัดหนังตาส่วนเกินออก และเย็บให้ขนตาดูงอนขึ้น (อ่านเพิมเติม: ทำตาสองชั้น)

2. การแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง : เป็นเทคนิคที่จะทำการดึงกล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์(Levator) โดยการผ่าตัดที่ลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อตา เพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้สามารถยกเปลือกตาได้ดีขึ้น เรียกได้ว่าเป็นเทคนิคที่แก้ปัญหาขนตาทิ่มตา ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ สามารถทำร่วมกับการทำตาสองชั้นได้ด้วย (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: เเก้กล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง)

3. Sub Brow Lift

เทคนิค Sub Brow Lift เป็นการตัดยกชั้นตาให้ดูชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะซ่อนแผลเอาไว้ใต้คิ้ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหนังตาเริ่มตกในระยะแรกๆ เทคนิคนี้จะช่วยแก้ปัญหาขนตาทิ่มตา ได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้ดวงตาดูสดใสขึ้นด้วย (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: Sub Brow Lift)

4. การผ่าเปิดหัวตา

การผ่าตัดเปิดหัวตา เป็นเทคนิคการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้อรั้งบริเวณหัวตา ตัดเอารอยพับออก เพื่อให้บริเวณหัวตาโตและดูกว้าง ขึ้น มักนิยมทำร่วมกับการทำตาสองชั้น เหมาะกับผู้ที่มีปัญหามีเนื้อคลุมบริเวณหัวตามาก หัวตางุ้มลง เทคนิคนี้จะช่วยลดอาการเคืองด้านหัวตา และแก้ปัญหาขนตาทิ่มตาในเวลาเดียวกัน อ่านเพิ่มเติม

การรักษาขนตาทิ่มตาด้วยการผ่าตัดศัลยกรรมนอกจากจะเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ รักษาอย่างตรงจุดแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสดใส ความสวยงาม และโหงวเฮ้งที่ดีอีกด้วย นั่นจึงไม่แปลกที่วิธีนี้จะเป็นที่นิยมอันดับต้นๆ เจ็บแต่จบ ภาวะขนตาทิ่มตา ห้ามมองข้ามอันตรายกว่าที่คิด สำหรับใครที่มีปัญหาขนตาทิ่มตา แนะนำให้รีบไปปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม และถูกวิธี เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นเลยก็เป็นได้

icon-share
แชร์หน้านี้ :

ช่องทางติดตามคลินิก

Koaclinic
Koaclinic
Koaclinic
Koaclinic
Koaclinic
เริ่มดูปัญหาของคุณที่นี่ ส่งข้อมูล ปรึกษาคุณหมอ