กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สาเหตุตาปรือ ดูง่วงนอน รักษาอย่างไรให้ตาสดใสดี
โคอาสรุปให้ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร แก้ไขด้วยวิธีไหนดี
– ภาวะกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงจะทำให้เปิดตาได้ไม่เต็มที่ มองเห็นตาดำไม่เต็ม ทำให้ตาดูปรือ ดูง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ ในบางรายที่เป็นมากอาจส่งผลต่อการมองเห็น และความรู้สึกรอบ ๆ ดวงตาด้วย – ภาวะกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เป็นตั้งแต่เกิด, ความเสื่อมจากร่างกาย, โรค, อุบัติเหตุที่บริเวณเปลือกตาด้านบน หรือผลข้างเคียงจากการผ่าตัดหนังตาบน – ที่โคอาคลินิก มีวิธีผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 3 วิธี ได้แก่ ผ่าตัดลงแผลด้านนอก, ผ่าตัดด้านในเปลือกตา และผ่าตัดด้วยเทคนิคพิเศษ – ผู้ที่เป็นภาวะกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง สามารถเข้ามาพบจักษุแพทย์ที่โคอาคลินิกได้เลย คุณหมอพร้อมดูแลทุกคน สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถส่งรูปมาให้คุณหมอประเมิน หรือนัดหมายได้เลยที่ไลน์ @koaclinic ปรึกษา “ฟรี” ไม่เสียค่าใช้จ่าย! |
เพิ่มคลิปวิดีโอจาก Youtube เกี่ยวกับการให้ความรู้ทั่วไปของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือการผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (ถ้ามี)
ในตอนที่เราส่องกระจก เคยสังเกตดวงตาของตัวเองไหมว่า ทำไมตาดำดูเล็ก ตาดูปรือ หรือเคยมีคนทักว่า ตาดูง่วง ทั้ง ๆ ที่ยังตื่นดี หรือถ่ายรูปออกมาแล้ว ตาดูเล็กและเหมือนจะหลับตลอดเวลา หากคุณเคยมีประสบการณ์ดังกล่าว อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีภาวะ “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”
ในวันนี้ โคอาคลินิก (KOA clinic) จะพาไปรู้จักกับสาเหตุของอาการตาปรือ ลืมตาไม่โต และทำให้ตาดูง่วงตลอดเวลานี้ พร้อมแนะนำ “วิธีแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” จะต้องรักษาอย่างไร หากอยากรู้แล้ว สามารถอ่านบทความและมองกระจกไปพร้อม ๆ กันได้เลย
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ?
คือ ภาวะลืมตาไม่โต หรือลืมตาได้ไม่เต็มที่ ซึ่งทุกคนสามารถสังเกตดวงตาของตัวเองได้ โดยการยืนมองตัวเองที่หน้ากระจก และเปรียบเทียบกับภาพด้านล่างนี้
ตาดำของเรานั้น จริง ๆ แล้ว จะเป็น “วงกลม” โดยที่คนทั่วไป ขอบตาบน (ที่มีขนตาติดอยู่) จะปิดตาดำลงมานิดหน่อย หรือไม่เกิน 2 มิลลิเมตรดังรูป แต่ยังสามารถเห็นตาดำได้เกือบเต็มวงกลมอยู่ อย่างไรก็ตาม หากเวลาที่เราลืมตาแล้วขอบตาบนปิดตาดำมากกว่า 2 มิลลิเมตรขึ้นไป จะทำให้เห็นตาดำได้ไม่เต็มที่ เราเรียกตาที่มีภาวะนี้ว่า “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” นั่นเอง!
นอกจากนี้ คนที่กล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงมาก ๆ ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเบ้าตาลึกได้เช่นกัน
หากคุณมีอาการเหล่านี้ แล้วต้องการรักษาภาวะกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง เพื่อช่วยให้ตาเปิดได้โตขึ้น สามารถส่งรูปมาให้คุณหมอประเมินได้เลยที่ไลน์ @koaclinic ปรึกษา “ฟรี” ไม่เสียค่าใช้จ่าย
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากอะไรได้บ้าง?
กล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง มีความหมายตรงตามชื่อเลยก็คือ “กล้ามเนื้อ” ที่ใช้ในการลืมตา “อ่อนแรง” เลยเป็นสาเหตุให้เวลาเราลืมตา แล้วตาเปิดไม่โต โดยสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงที่พบบ่อย ๆ มีดังนี้
1. เป็นตั้งแต่กำเนิด
ภาวะกล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงแต่กำเนิดนี้ เกิดจากความผิดปกติในการพัฒนาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกเปลือกตาบน หรือที่เรียกว่ากล้ามเนื้อยกเปลือกตา (Levator Muscle) ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงเท่าที่ควร บางคนอาจมีอาการเพียงข้างเดียว หรือสองข้างไม่เท่ากัน ผู้ปกครองมักสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เด็กว่าลูกมีตาที่ดูเล็กกว่าปกติ หรือตาสองข้างไม่เท่ากัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะคงที่และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนักตามการเจริญเติบโต
2. เกิดจากความเสื่อม
เมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายย่อมเสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติ รวมถึงกล้ามเนื้อยกเปลือกตาด้วย ภาวะนี้มักพบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยจะสังเกตเห็นว่าตาเริ่มดูเล็กลง ปรือลง หรือหนังตาเริ่มตกลงมาปิดตาดำมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนอาจรู้สึกว่าต้องใช้แรงในการลืมตามากขึ้น หรือต้องเงยหน้าเพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
3. โรค หรืออาการบาดเจ็บอื่น ๆ
นอกจากความเสื่อมตามวัยแล้ว กล้ามเนื้อตาอาจอ่อนแรงได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ อย่างโรค Myasthenia Gravis หรือโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 ผิดปกติ นอกจากนี้การได้รับบาดเจ็บบริเวณรอบดวงตาจากอุบัติเหตุ การมีก้อนเนื้องอกบริเวณเปลือกตา หรือแม้แต่พฤติกรรมการขยี้ตาแรง ๆ เป็นประจำ ก็สามารถส่งผลให้กล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงได้เช่นกัน
4. ผลข้างเคียงจากการทำตาสองชั้นที่ไม่เหมาะสม
การทำศัลยกรรมตาสองชั้น หรือการผ่าตัดเปลือกตาบน อาจส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อยกเปลือกตาได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ทำให้ชั้นตาหนาเกินไป ทำให้เปลือกตามีน้ำหนักมากขึ้น กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักในการยกเปลือกตา หรือในบางกรณีที่เกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อระหว่างการผ่าตัด ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงได้ ดังนั้น การเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก
จะรู้ได้อย่างไรว่า กล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงเกิดจากสาเหตุอะไร
การวินิจฉัยสาเหตุของกล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงนั้น สามารถสังเกตได้จากประวัติและอาการต่าง ๆ เช่น
- หากมีตาดำดูเล็กตั้งแต่เกิด มักเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด
- ถ้าอาการค่อย ๆ เป็นมากขึ้นตามอายุ ก็มักเกิดจากความเสื่อม
- สำหรับผู้ที่มีอาการตาปรือไม่เท่ากันในแต่ละช่วงของวัน เช่น ตอนเช้าตายังโต แต่ตอนเย็นตาจะปรือมากขึ้น อาจเกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรค MG
- ดูว่ามีประวัติการผ่าตัดตามาก่อนหรือไม่ หรือมีอุบัติเหตุบริเวณตาหรือเปล่า
อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดควรได้รับการตรวจประเมินจากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม ส่งผลเสียอย่างไร?
การมีภาวะกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่จะส่งผลเสียต่อการมองเห็น ความสวยงาม และความรู้สึกรอบดวงตา มีรายละเอียดดังนี้
1. ผลเสียต่อการมองเห็น
คนเราจะมองภาพผ่านลูกตาดำเข้าไป ดังนั้นในผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงมาก จนตาดำเปิดได้น้อย อาจทำให้มองเห็นภาพแคบลงได้
2. ผลเสียต่อความสวยงาม
การที่ลืมตา แล้วเห็นตาดำไม่โต จะส่งผลให้แววตาดูไม่สดชื่น ดูไม่สดใส ตาดูปรือเหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ อาจโดนเพื่อนๆแซวว่าง่วงนอนเวลาเห็นรูปถ่าย หรืออาจส่งผลกระทบต่อสายงานบางอาชีพที่ต้องการบุคลิกภาพที่ดี เช่น พิธีกร, แอร์โฮสเตส หรือนักแสดง เป็นต้น
3. ผลเสียต่อความรู้สึกรอบดวงตา
เมื่อตาลืมได้ไม่โต ร่างกายจะสั่งการอัตโนมัติให้คิ้วและหน้าผากช่วยยก เพื่อช่วยให้ตาเปิดกว้างขึ้น จึงมักเห็นคนที่ตาดูปรือจะมีลักษณะคิ้วโก่งอยู่บ่อย ๆ ซึ่งการโก่งคิ้วเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดภาวะปวดขมับ หรือปวดเบ้าตาเรื้อรังได้ โดยภาวะนี้ยังสามารถพบได้ในคนที่ทำตาสองชั้นมา แล้วชั้นตาหนาเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อตาต้องพยายามทำงานหนักเช่นกัน
วิธีรักษากล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรง
หากเจอว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง ควรต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ก่อน โดยผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงชนิดที่เป็นตั้งแต่เกิด, ชนิดที่เกิดจากความเสื่อม หรือเกิดหลังจากการทำศัลยกรรมตา สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งให้ผลการรักษาที่ค่อนข้างดี และช่วยให้ตาเปิดได้โตขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่เกิดจากโรค ภาวะบาดเจ็บ หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้น้อย วิธีการรักษาอาจมีความซับซ้อนกว่า โดยสามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากการดูอาการ หรือประวัติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีอาการตาปรือไม่เท่ากันในแต่ละวัน หรือมีอาการตาปรือมากตอนเคี้ยวอาหาร หากไม่แน่ใจ แนะนำให้ปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุโดยละเอียด
การผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงส่วนใหญ่ สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด ที่โคอาคลินิก มีการผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 3 วิธี ดังนี้
1. ผ่าตัดโดยลงแผลด้านนอก (External ptosis correction)
วิธีนี้จะมีการเปิดแผลคล้าย ๆ กับการทำตาสองชั้น โดยคุณหมอจะเปิดแผลตามรอยพับของชั้นตา เพื่อเข้าไปหากล้ามเนื้อตาและซ่อมแซมให้กล้ามเนื้อตามีแรงเปิดมากขึ้น
เทคนิคการผ่าตัดลงแผลด้านนอกสามารถแก้ปัญหาของกล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงได้ทุกรูปแบบ รวมถึงสามารถทำร่วมกับการทำตาสองชั้น เพื่อให้ชั้นตาสวยขึ้น และยังเอาหนังตาตก หรือหนังตาที่หย่อนยานออกไปด้วย
เหมาะกับใคร :
- ทำได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป
- คนที่มีปัญหากล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงน้อย ไปจนถึงเป็นมาก ๆ
- คนที่มีกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงร่วมกับอยากได้ตาสองชั้นที่ชัด หรือคนมีปัญหาหนังตาตกและหย่อน
ไม่เหมาะกับใคร :
- คนที่ไม่อยากให้มีแผลผ่าตัดที่ผิวหนัง
2. ผ่าตัดจากด้านในเปลือกตา (Internal ptosis correction)
การแก้กล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงวิธีนี้ คุณหมอจะพลิกเปลือกตาแล้วทำผ่าตัดจากด้านใน มีข้อดีคือ พักฟื้นค่อนข้างเร็ว ไม่มีรอยแผลผ่าตัดให้เห็น และไม่ต้องตัดไหม สามารถแก้ไขกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงที่เป็นไม่รุนแรงได้
เหมาะกับใคร :
- คนที่มีอายุน้อยกว่า 30
- คนที่มีตาสองชั้นอยู่แล้ว แต่ตาปรือ
- คนที่อยากแก้ไขกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง และไม่อยากให้มีแผลผ่าตัด
- คนที่อยากให้ตาโตอย่างเป็นธรรมชาติ
ไม่เหมาะกับใคร :
- คนที่เป็นกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงมาก หรือตาดูปรือมาก ๆ
- คนที่มีปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หนังตาหย่อน หรือเบ้าตาลึก
- คนที่ต้องการทำตาสองชั้นร่วมด้วย
3. ผ่าตัดเทคนิคพิเศษ โดยใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง
วิธีนี้จะใช้เฉพาะกับคนที่มีปัญหากล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงแบบรุนแรง หรือที่คนที่เคยผ่าตัดตามาหลาย ๆ ครั้ง จนเกิดพังผืดมาก โดยจะหลีกเลี่ยงการไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อตาโดยตรง เนื่องจากอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยดี แต่จะใช้กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงมาช่วยเปิดตาแทน เช่น กล้ามเนื้อหน้าผาก หรือใช้เยื่อบุตาด้านใน
เหมาะกับใคร :
- คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงแบบรุนแรง หรือเป็นจากที่เคยผ่าตัดหนังตาบนมาหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งจะต้องให้คุณหมอประเมินก่อน
สามารถดูรายละเอียดเรื่องการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงได้ ที่นี่ เลย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- งดรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือยาสมุนไพรที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อย่างน้อย 7-10 วันก่อนผ่าตัด (กรณีที่ทานยาประจำ ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน)
- งดสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด เพราะอาจส่งผลต่อการหายของแผล
- หากใส่คอนแทคเลนส์ ให้ถอดออกก่อนวันผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อให้กระจกตากลับสู่สภาพปกติ
- งดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
- ควรอาบน้ำและทำความสะอาดใบหน้าให้เรียบร้อยในเช้าวันผ่าตัด
- แจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว และยาที่ใช้ประจำให้แพทย์ทราบ
- เตรียมผู้ดูแลที่จะพาท่านเดินทางกลับหลังการผ่าตัด เนื่องจากอาจมีผลจากยาชาหรือยาสลบ
การดูแลตนเองหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ประคบเย็นบริเวณรอบดวงตาในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการบวมและช้ำ
- นอนศีรษะสูงประมาณ 30-45 องศา เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการก้มหน้าหรือออกแรงยกของหนักในช่วง 2 สัปดาห์แรก
- ใช้ยาหยอดตาและยาทาตามที่แพทย์สั่ง อย่างเคร่งครัด
- ทำความสะอาดแผลตามคำแนะนำของแพทย์ โดยระวังไม่ให้น้ำเข้าตาโดยตรง
- หลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือสัมผัสบริเวณที่ผ่าตัดโดยตรง
- งดการแต่งหน้าบริเวณตาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- สวมแว่นกันแดดเมื่อต้องออกแดด และหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในช่วง 1 เดือนแรก
- มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามการรักษาและผลการผ่าตัด
ข้อควรระวังในการผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
หมอกรอยากกล่าวถึงผู้ที่เป็นกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงจากโรค “กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis: MG)” สักเล็กน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่พบไม่บ่อยแต่มีความสำคัญ เนื่องจากตลอดการทำงานเป็นจักษุแพทย์ของคุณหมอกร เคยเจอคนไข้ประมาณ 5 – 6 คน ที่มาปรึกษาด้วยเรื่องกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง แต่สุดท้ายมีภาวะของโรค MG
โรค MG นั้น เป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติ มักเกิดในผู้หญิงวัยทำงาน อายุ 30-40 ปี มักมีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว และอาการตกของตาไม่เท่ากันในช่วงวัน โดยอาการจะดี ตายังโตในตอนเช้า และตาจะตกมากตอนบ่ายหรือเย็น ๆ
ที่ต้องระวังโรคนี้ เนื่องจากโรค MG อาจนำไปสู่การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย และเกิดอันตรายกับร่างกายได้ ซึ่งวิธีการรักษามักเป็นไปในทางการใช้ยา หรือวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช้การผ่าตัดที่ตาโดยตรงหากเป็นโรค MG แล้วไปรักษาโดยการผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาจทำให้สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ได้ถูกรักษา และอาจเป็นอันตรายได้ในอนาคตนั่นเอง
หากใครมีอาการหรือสงสัยภาวะ MG สามารถนัดเข้ามาตรวจเบื้องต้นกับคุณหมอกรได้
กล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงสามารถรักษาโดยไม่ผ่าตัดได้หรือไม่?
การรักษากล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดเป็นสำคัญ ในกรณีที่เกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตาตามวัย หรือมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมาตั้งแต่กำเนิด การรักษาด้วยการผ่าตัดจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาโดยตรง
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (MG) หรือความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 การรักษาอาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัดที่ตา แต่จะเน้นการรักษาที่สาเหตุหลักด้วยยาหรือวิธีการอื่น ๆ ตามที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
ถ้าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงและมีเบ้าตาลึกด้วย จะแก้ไขอย่างไร?
การมีทั้งกล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงและเบ้าตาลึกพร้อมกัน จำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาคือระดับความลึกของเบ้าตา หากพบว่าเบ้าตามีความลึกมาก การรักษาที่เหมาะสมคือการผสมผสานการรักษาสองวิธี ได้แก่ การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงควบคู่กับการเติมไขมันบริเวณเบ้าตา วิธีนี้จะช่วยให้ดวงตาดูสดใส มีชีวิตชีวา และช่วยแก้ไขปัญหาเบ้าตาลึกได้ในคราวเดียวกัน
ทำตาสองชั้น ช่วยแก้ไขกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรงได้หรือไม่?
การทำตาสองชั้นเพียงอย่างเดียวอาจช่วยให้ดวงตาดูสดใสขึ้นได้บ้าง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้อย่างตรงจุด ที่สำคัญ หากเลือกทำชั้นตาที่หนาเกินไป อาจกลับทำให้อาการแย่ลง เพราะน้ำหนักของชั้นตาที่มากขึ้นจะยิ่งทำให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนักในการยกเปลือกตา ส่งผลให้ตาดูปรือและง่วงมากกว่าเดิม ดังนั้น หากมีปัญหากล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ตรงจุดจะดีกว่า
ทำตาสองชั้นกับแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ต่างกันยังไง?
แม้ว่าตำแหน่งการลงแผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณเดียวกัน แต่เทคนิคและรายละเอียดในการผ่าตัดมีความแตกต่างกันอย่างมาก การทำตาสองชั้นจะเน้นการสร้างชั้นตาให้สวยงาม โดยการจัดการกับผิวหนังและไขมันเป็นหลัก แต่การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะต้องเข้าไปแก้ไขที่กล้ามเนื้อยกเปลือกตาโดยตรง ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความละเอียดในการผ่าตัดสูงกว่า เพราะต้องระวังไม่ให้กระทบกับเส้นประสาทและหลอดเลือดสำคัญในบริเวณนั้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองเหมาะกับการผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเทคนิคไหน?
การเลือกเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมนั้นต้องอาศัยการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยทั่วไป การผ่าตัดแบบลงแผลด้านนอก (External Approach) จะเป็นวิธีที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาได้มากที่สุด เหมาะกับผู้ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง หรือมีปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หนังตาหย่อนคล้อย ส่วนเทคนิคอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดด้านใน หรือการใช้เทคนิคพิเศษ จะเหมาะกับผู้ป่วยเฉพาะราย ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ ความรุนแรง และปัจจัยอื่น ๆ ที่แพทย์ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล
จะรู้ได้อย่างไรว่าผ่าตัดแล้วจะได้ผลดี?
ส่วนใหญ่แล้ว หลังการผ่าตัด คนไข้จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน คือตาดำจะมองเห็นได้ชัดและโตขึ้น ทำให้ดวงตาดูสดใสมีชีวิตชีวา ไม่ดูง่วงหรือปรือเหมือนก่อน นอกจากนี้ยังช่วยให้ลานสายตากว้างขึ้น มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์สุดท้ายอาจต้องใช้เวลา 1-2 เดือนหลังผ่าตัดเพื่อให้อาการบวมยุบตัวลงหมด และรอให้กล้ามเนื้อตากลับมาแข็งแรงมากยิ่งขึ้น หากคนไข้มีข้อกังวลใด ๆ เกี่ยวกับผลการผ่าตัด สามารถปรึกษาคุณหมอได้ตลอด เพราะที่โคอาคลินิกเราดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดและให้คำแนะนำอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน
ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง เจ็บมากไหม?
อาการเจ็บจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยทั่วไปที่โคอาคลินิก จะมีการให้ยาหลายรูปแบบเพื่อลดอาการเจ็บระหว่างผ่าตัด ไม่ต้องกังวลเลย
ถ้ามีอาการตาปรือ สามารถทำแค่ตาสองชั้นอย่างเดียวได้หรือไม่?
แม้ว่าการทำตาสองชั้นอย่างเดียวจะเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่วิธีที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เพราะการทำตาสองชั้นเพียงอย่างเดียวไม่ได้แก้ไขที่สาเหตุของอาการตาปรือ อีกทั้งชั้นตาที่สร้างขึ้นมักจะออกมาหนากว่าปกติ เพื่อพยายามอำพรางอาการตาปรือ ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้ปัญหาแย่ลง เพราะน้ำหนักของชั้นตาที่หนาจะยิ่งทำให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนักขึ้น
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการตรวจประเมินกับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการรักษาที่แก้ไขทั้งปัญหากล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรงและความสวยงามไปพร้อมกัน
คุณหมอที่ KOA Clinic ดุไหม?
คุณหมอใจดีมาก พร้อมดูแลทุกเคสด้วยความตั้งใจ ใครที่มีปัญหากล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง ตาดูปรือ ตาดูง่วงนอน ลืมตาไม่โต แล้วต้องแก้กล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรง สามารถเข้ามาปรึกษาที่โคอาคลินิกได้เลย หรือส่งรูปมาให้คุณหมอประเมินได้ฟรีที่ไลน์ koa.care แอดเลยไม่ต้องรอ
สรุปบทความการแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งด้านการมองเห็นและความมั่นใจ สาเหตุหลักมาจากความผิดปกติแต่กำเนิด ความเสื่อมตามวัย โรคหรืออุบัติเหตุ และผลข้างเคียงจากการผ่าตัดตา การรักษาที่ตรงจุดด้วยการผ่าตัดที่เหมาะสมจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่โคอาคลินิก เรามีทางเลือกการรักษาที่หลากหลาย ทั้งการผ่าตัดแบบลงแผลด้านนอก ด้านใน หรือเทคนิคพิเศษ พร้อมดูแลคนไข้แต่ละรายด้วยความใส่ใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หากคุณกำลังประสบปัญหากล้ามเนื้อตามีอาการอ่อนแรง สามารถปรึกษาคุณหมอที่โคอาคลินิกได้ฟรี เพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
FAQ
-
ขึ้นกับสาเหตุ ถ้าเกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด แต่หากเป็นจากสาเหตุอื่นๆที่พบได้น้อย เช่น โรคMG หรือ เส้นประสาทคู่ที่3ผิดปกติ อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
-
อาจช่วยได้เล็กน้อย แต่ถ้าตาสองชั้นหนาไป อาจทำให้ตายิ่งปรือลงกว่าเดิม
-
อาจดูจากประวัติ และอาการอื่น ๆ เช่น ตาดำดูเล็กตั้งแต่เกิดหรือไม่, มีสาเหตุนำก่อนที่ตาจะปรือไหม หรือความปรือเป็นเท่ากันทั้งวันไหม หากไม่แน่ใจ หรือกังวล แนะนำให้ปรึกษาจักษุแพทย์จะดีที่สุด
-
ตำแหน่งการลงแผลไม่ต่างกัน แต่เทคนิคและรายละเอียดในการผ่าตัดต่างกันค่อนข้างมาก
-
โดยทั่วไปจะดูว่า เบ้าตาลึกมากหรือไม่ ถ้าเบ้าตาลึกมาก อาจต้องทำการเติมไขมันร่วมกับการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง
-
หากผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงด้วยเทคนิคลงแผลด้านนอก ส่วนใหญ่จะครอบคลุมทุกปัญหา แต่ถ้าเป็นเทคนิคอื่น ๆ อาจจะต้องให้คุณหมอพิจารณาเป็นรายบุคคล
-
ส่วนใหญ่แล้ว การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง จะช่วยให้เห็นตาดำโตขึ้น และมองเห็นภาพได้กว้างขึ้น ทั้งนี้หากไม่มั่นใจ หรือกังวลเรื่องผลลัพธ์การผ่าตัด สามารถปรึกษาพูดคุยกับคุณหมอเพิ่มเติมได้
-
อาการเจ็บจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยทั่วไปที่โคอาคลินิก จะมีการให้ยาหลายรูปแบบเพื่อลดอาการเจ็บระหว่างผ่าตัด
-
ทำได้ แต่อาจไม่ได้แก้ไขเรื่องตาปรือ และชั้นตามักจะออกมาหนากว่าปกติ
-
คุณหมอใจดีมาก พร้อมดูแลทุกเคสด้วยความตั้งใจ ใครที่มีปัญหากล้ามเนื้อที่ตาอ่อนแรง ตาดูปรือ ตาดูง่วงนอน ลืมตาไม่โต แล้วต้องแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถเข้ามาปรึกษาที่โคอาคลินิกได้เลย หรือส่งรูปมาให้คุณหมอประเมินได้ฟรีที่ไลน์ koa.care แอดเลยไม่ต้องรอ