กล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง ปัญหาใหญ่วัยทำงาน พร้อมเจาะลึกการ เเก้กล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง เเบบตรงจุด
พอย่างกรายเข้าสู่วัยทำงาน ภาระหน้าที่รับผิดชอบก็เพิ่มมากขึ้น การทำงานหนักเกินไปจึงส่งผลเสียต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนไม่เพียงพอ ออฟฟิศซินโดรม หรือแม้กระทั่งปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยในวัยทำงานแต่หลายๆ คนอาจจะไม่คาดคิด
Table of content
วัยทำงานต้องเจอปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง
นอกจากเรื่องงานที่ต้องพบเจอทุกวันแล้ว ปัญหาสุขภาพในวัยทำงาน เป็นสิ่งที่พ่วงตามมาติดๆ สำหรับคนวัยทำงาน ซึ่งปัญหาสุขภาพที่มักพบเจอได้บ่อยได้วัยทำงานที่สำคัญ 5 อย่าง ได้แก่
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นปัญหาสุขภาพของวัยทำงานที่หลายๆ คนอาจจะคิดไม่ถึง แต่การใช้สายตาทำงานหนักและการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ การขยี้ตา สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้
- ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นปัญหาที่เชื่อได้เลยว่า แทบไม่มีใครไม่เจอ โดยออฟฟิศซินโดรมมักจะเกิดจากพฤติกรรมของวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและไม่มีการขยับตัว ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว ก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อีกหนึ่งปัญหายอดฮิตวัยทำงาน เนื่องจากการนั่งทำงานต่อเนื่องนานๆ อาจจะทำให้ไม่ได้ลุกไปเข้าห้องน้ำ ยังรวมถึงพฤติกรรมการดื่มกาแฟเป็นหลักและดื่มน้ำน้อย
- ปัญหาทางเดินอาหาร เนื่องจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ส่งผลเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนถึงเครียดลงกระเพาะ และกรดไหลย้อนได้อีกด้วย
- ความดันโลหิตสูง โดยปัญหานี้สามารถเกิดได้จากทั้งความเครียด รวมไปถึงปัญหาด้านสุขภาพและไขมันอื่นๆ สามารถส่งผลต่อความดันโลหิตสูงได้ด้วยเช่นกัน
วันนี้ KOA Clinic จะขอเจาะลึกเฉพาะปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในวัยทำงาน สาเหตุและวิธีแก้ไข สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือเปล่า
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในวัยทำงานเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?
ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจจะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด โดยเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลาย ทำให้เกิดการนำกระแสประสาทลดลง หรืออาการที่เป็นในภายหลัง หลักๆ มาจากการใช้สายตาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการมองหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการพักสายตา นอกจากนี้การใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน และการขยี้ตาบ่อย ก็ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน
สังเกตุอย่างไร? หากเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ลักษณะของอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ลืมตาไม่ขึ้น เพราะกล้ามเนื้อตาที่เกิดปัญหา เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กเหนือเบ้าตา ทำหน้าที่ยกเปลือกตาบนขึ้น และควบคุมการลืมตา อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะทำให้กล้ามเนื้อชนิดนี้สูญเสียความแข็งแรงจนไม่สามารถออกแรงลืมตาได้
- หนังตาตก หรือตาปรือตลอดเวลา เพราะกล้ามเนื้อตาเปิดออกได้ไม่เต็มที่ ขอบตาด้านบนจะปิดคลุมขอบตาดำมากกว่าปกติ อาจจะส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติได้ด้วยเช่นกัน โดยลักษณะความรุนแรงของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นอาจจะเริ่มตั้งแต่ระดับเริ่มต้นที่ลักษณะขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร ระดับกลาง ที่ทับลงมามากกว่า 3 มิลลิเมตร ไปจนดึงระดับรุนแรง ที่จะปิดทับลงมามากกว่า 4 มิลลิเมตร
- เลิกคิ้วบ่อย เนื่องจากหนังตาตกมาทับตาดำบางส่วน จนปิดรูม่านตา ทำให้เคยชินกับการเลิกคิ้ว เพื่อเพิ่มความสามารถการมองเห็นและชดเชยภาวะเปลือกตาออกแรงยกขึ้นได้ไม่เต็มที่
- ชั้นตาซ้อนกันหลายชั้น เกิดจากการที่กล้ามเนื้อตาไม่สามารถยืดหดได้อย่างเต็มที่ จนทำให้ผิวหนังเปลือกตาทับซ้อนกันจนเป็นหลายชั้นนั่นเอง
- เบ้าตาลึกกว่าปกติ โดยจะมีร่องลึกอยู่เหนือเปลือกตา เบ้าตาชัดลึก และดูง่วงนอนตลอดเวลา เกิดจากไขมันใต้เปลือกตาหายไปจากตำแหน่งที่ลึกขึ้น ทำให้ตาดูโหล มักจะพบในผู้ที่มีอายุมาก
ผลเสียของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในวัยทำงาน
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถก่อให้เกิดผลเสียในแง่ของบุคลิกภาพได้ เนื่องจากปัญหาหนังตาตก ส่งผลให้ลืมตาไม่ขึ้น โฟกัสภาพไม่ได้ หากเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงข้างเดียว อาจจะทำให้ตาเปิดได้ไม่เท่ากัน อาการเหล่านี้มักเป็นหนักช่วงบ่ายหรือเย็น ทำให้ตาดูง่วงปรือ คล้ายคนอดนอน สูญเสียความมั่นใจ นอกจากนี้ ผลเสียที่สำคัญคือผลเสียต่อการมองเห็น เพราะการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะทำให้ตาดำเปิดได้น้อย การมองเห็นภาพแคบลง
แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้อย่างไร?
ในปัจจุบัน กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่สามารถหายไปเองได้ แต่เทคนิคทางการแพทย์และการผ่าตัด สามารถช่วยแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ ซึ่งเทคนิคทั้งหมดนี้ จะเป็นการผ่าตัดที่ต้องลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตา เพื่อให้ตาเปิดมากขึ้นด้วยวิธีการยกกล้ามเนื้อให้ได้รูป ทำให้การผ่าตัดเพื่อแก้ตาอ่อนแรง จะมีความซับซ้อนกว่าการผ่าตัดตาสองชั้น โดยจะสามารถแบ่งเทคนิคการผ่าตัดเพื่อแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- เทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านนอก
มักพิจารณาทำในกรณีที่มีการตกของหนังตามาก แต่แรงกล้ามเนื้อยังพอมี หรือในกรณีที่เคยผ่าตัดมาก่อน โดยจะเป็นแผลลักษณะเดียวกับการทำตาสองชั้น เกิดรอยแผลที่ชั้นตา แต่การผ่าตัดจะทำลึกลงไปจนถึงกล้ามเนื้อด้านใน เพื่อดึงให้กล้ามเนื้อเปิดตาทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาน้อย
- เทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านในเปลือกตา
เป็นเทคนิคที่ไม่มีแผลเป็นด้านนอก จะพิจารณาใช้กับกรณีที่ยังสามารถเปิดตาได้เองได้บ้าง ชั้นตาที่ได้หลังการผ่าตัดมักมีความเป็นธรรมชาติ เหมาะกับคนที่ไม่อยากให้มีแผลผ่าตัด แต่ไม่เหมาะสำหรับกรณีที่เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมากๆ หรือมีปัญหาหนังตาเยอะ
- เทคนิคผ่าตัดโดยใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง
กรณีนี้เหมาะสำหรับเคสที่ไม่มีแรงเหลือของการเปิดตาจากเปลือกตา มักเป็นกรณีที่พบแต่กำเนิด หรือมีปัญหารุนแรง ตาปรือมากๆ หรือผ่านการผ่าตัดมาหลายครั้งจนเกิดพังผืดมาก เพราะการผ่าตัดรูปแบบนี้ จะใช้กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อบริเวณอื่นๆ ข้างเคียง เช่น กล้ามเนื้อหน้าผาก หรือกล้ามเนื้อเยื่อบุตาด้านใน มาทำงานหรือคล้องแทนชั้นกล้ามเนื้อตาที่มีปัญหาเพื่อเปิดตาแทน แต่ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์อย่างสูง และต้องให้แพทย์เป็นคนประเมินระดับความรุนแรงและการผ่าตัดก่อนเท่านั้น
(อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง)
แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถทำงานได้เลยหรือไม่?
การผ่าตัดเพื่อแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะมีลักษณะของการดูแลหลังผ่าตัดคล้ายๆ กับการทำตาสองชั้น คือควรงดใช้สายตาหนักๆ ในช่วงแรก 2-3 วันแรกหลังผ่าตัด จึงจะสามารถทำงานได้ นอกจากนี้หากมีอาการตาแห้ง ควรหยอดน้ำตาเทียม และหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ
ตอบคำถามคาใจเกี่ยวกับ แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ของคนวัยทำงาน
Q: แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ขับรถได้เลยไหม
A: เนื่องจากเป็นการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตา หลังผ่าตัดจึงไม่ควรขับรถทันที และไม่ควรใช้สายตาหนักช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด
Q: เเก้กล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง ทาอายเเชโดว์ได้เมื่อไหร่
A: ควรงดการแต่งหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และสามารถแต่งหน้าได้หลังจากตัดไหมแล้ว
Q: เเก้กล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง ใส่คอนเเทคเลนส์ได้เมื่อไหร่
A: หลังผ่าตัดใหม่ๆ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลา 2 เดือน หลังจากนั้นจึงจะกลับมาใส่ได้
Q: เเก้กล้ามเนื้อตาอ่อนเเรง จะสามารถออกไปพบลูกค้าได้เมื่อไหร่
A: ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัดที่เลือกใช้ หากเลือกเทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านในเปลือกตา จะสามารถพบเจอผู้คนได้เลย เนื่องจากไม่เกิดแผลเป็น แต่หากเป็นเทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านนอก จะสามารถเจอผู้คนโดยไม่ต้องกังวลหลังตัดไหม 7 วัน แต่หากไม่มีความกังวลเกี่ยวกับแผล จะสามารถพบปะลูกค้าได้ตั้งเเต่ 3 วัน
จะเห็นได้ว่าปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นอีกหนึ่งปัญหาของวัยทำงานที่เราอาจจะไม่คาดคิดมาก่อน แต่ก็ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากทั้งในแง่ของบุคลิกภาพและความมั่นใจ รวมไปถึงการใช้ชีวิตกรณีที่ไม่สามารถมองเห็นได้เต็มที่ แต่การแพทย์ในปัจจุบันก็มีทางเลือกรองรับในการแก้ไขปัญหา ที่ใช้เวลาพักฟื้นน้อย และมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมหมั่นสังเกตตัวเอง และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนในวัยทำงาน