กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เป็นภาวะที่เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของกล้ามเนื้อตามัดต่าง ๆ ของเปลือกตา ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ตาปรือมากกว่าปกติ ลืมตาขึ้นได้ไม่สุด และหนังตาตก
ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-40 ปี โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยมักจะมีอาการเริ่มต้นด้วยอาการหนังตาตกและมีความผิดปกติของมองเห็น การแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจึงไม่ใช่แค่เพียงตอบโจทย์ในด้านความสวยความงาม แต่ยังทำให้การมองเห็นดีขึ้นได้อีกด้วย
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
1. เป็นตั้งแต่กำเนิด
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อตาและเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านี้ มักมีอาการหนังตาตกและการเคลื่อนไหวของตาที่ผิดปกติร่วมด้วย ส่วนมากอาการจะปรากฏชัดเจนตั้งแต่อายุยังน้อยและมักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าในกรณีที่เกิดในผู้ใหญ่
2. เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายมักเกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเสื่อมสภาพของระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
3. โรคหรืออาการบาดเจ็บอื่น ๆ
การบาดเจ็บที่กระทบต่อเส้นประสาทตา หรือโรคอื่นๆ ที่มีผลต่อกล้ามเนื้อตา สามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน
4. ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดหนังตาบน
หลังผ่าตัดหนังตาบนเพื่อแก้ไขกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของหนังตา และปรับปรุงลักษณะภายนอกของตา อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือความผิดปกติต่างๆ เช่น อาการตาอ่อนแรงหรือหนังตาตก
5. โรค MG (Myasthenia Gravis)
โรค MG นั้น เป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติ มักเกิดในผู้หญิงวัยทำงาน อายุ 30 – 40 ปี เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ร่างกายมีการผลิตแอนติบอดีออกมาบล็อกตัวรับของอะซิติลโคลีน (Acetylcholine receptors) ที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถรับสัญญาณประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว และหนังตาตกไม่เท่ากันในช่วงวัน เช่น ตาจะยังดูโตปกติในช่วงเช้า แต่จะตกมากตอนบ่ายหรือเย็นๆ
อันตรายจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการมองเห็นและความรู้สึกรอบดวงตา โดยหนังตาตกอาจลดการมองเห็นหรือทำให้เห็นเป็นภาพซ้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิต และอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตาหรือปวดตาได้
นอกจากนี้ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยังทำให้เกิดปัญหาด้านความสวยงาม เช่น รูปตาที่ไม่สมดุลหรือรอบดวงตาดูบวม ส่งผลให้รู้สึกเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับลักษณะภายนอกของรูปตา การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจำเป็นต้องทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นอาการไม่สามารถหายเองได้ และจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อตา เพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่มีปัญหาดังกล่าว โดยทางโคอาคลินิก มีวิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอยู่ 3 วิธีหลักๆ ดังนี้
- ผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านนอก
การแก้ตาวิธีนี้ แพทย์จะทำการผ่าตัดจากด้านนอกของเปลือกตา ซึ่งช่วยให้เข้าถึงกล้ามเนื้อตาและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการแก้ปัญหาหนังตาตกในระดับปานกลาง หรือต้องการแก้ชั้นตา แก้ตา 2 ชั้นไปในตัว
- เทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแผลด้านในเปลือกตา
การผ่าตัดจากด้านในเปลือกตาเป็นวิธีการแก้ปัญหาหนังตาตกที่ไม่ทิ้งรอยแผลผ่าตัดให้เห็นอย่างชัดเจน มักใช้ในกรณีที่มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่มากนัก ต้องการความเป็นธรรมชาติ มีตา 2 ชั้นอยู่แล้ว หรือไม่ได้ต้องการชั้นตาที่ชัดเจน หลังผ่าตัดแล้วจะมีอาการบวมน้อยกว่า และยังใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าวิธีแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยเทคนิคอื่นๆ
- เทคนิคผ่าตัดโดยใช้เนื้อเยื่อข้างเคียง
สำหรับกรณีที่หนังตาปรือมากๆ หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดมาหลายครั้ง เทคนิคนี้จะใช้เนื้อเยื่อข้างเคียงเพื่อช่วยให้การยกหนังตาทำได้ดีขึ้น และปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อตาให้ทำงานได้ดีขึ้น
การเลือกวิธีการผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสภาพของเปลือกตา รวมทั้งประวัติการรักษาที่ผ่านมา จำเป็นต้องมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนการรักษาที่ดีที่สุด เพื่อบรรเทาอาการและฟื้นฟูการทำงานของตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสนใจผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถส่งรูปมาให้คุณหมอประเมิน หรือนัดหมายได้เลยที่ไลน์ @koaclinic ปรึกษา “ฟรี” ไม่เสียค่าใช้จ่าย!
ข้อควรรู้และควรปฎิบัติหลังการผ่าตัดแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
การบริหารกล้ามเนื้อตา
การบริหารกล้ามเนื้อตาอย่างต่อเนื่องจะช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงและกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อตา คุณหมอจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำการบริหารกล้ามเนื้อตา ซึ่งจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอในช่วง 1 – 2 เดือนแรก
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดแก้ตาอาจมีอาการหลับตาไม่สนิทได้ชั่วคราว ทำให้เกิดภาวะตาแห้ง การหยอดน้ำตาเทียมบ่อยๆ เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันและบรรเทาภาวะตาแห้ง ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดวงตาและลดความระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้นได้